การตรวจวิตามิน ช่วยให้รู้ว่าเรากำลังมีภาวะขาดหรือเกินของวิตามินหรือไม่ แพทย์จะได้แนะนำวิตามินเสริม หรืออาหารการกินเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจวิตามินและแร่ธาตุ
วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อให้การทำงานของระบบต่างๆ และการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ โดยเราจะได้รับวิตามินจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
อย่างไรก็ตาม อาหารที่เลือกรับประทานอาจมีวิตามินในปริมาณที่น้อยหรือไม่ครบถ้วน หลายคนจึงเลือกรับประทานวิตามินเสริมเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก
รับประทานวิตามินเสริมเวลาไหนดี?
โดยปกติควรรับประทานวิตามินเสริมหลังมื้ออาหาร เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และหากเป็นไปได้ควรเลือกมื้ออาหารที่เป็นมื้อใหญ่สุดของวัน
ใครที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน?
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน ได้แก่
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
- ผู้ที่งดรับประทานเนื้อสัตว์
- ผู้ที่แพ้อาหารบางประเภท เช่น นมวัว
- ผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
- ผู้รับประทานยาที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบางอย่าง
- ผู้ที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจำนวนมากเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว
การตรวจระดับวิตามิน เป็นการตรวจที่ทำให้รู้สภาวะขาดหรือเกินของวิตามินในร่างกาย เพื่อให้เลือกรับประทานเสริมได้อย่างเหมาะสม
การตรวจระดับวิตามิน สำคัญอย่างไร?
การตรวจวัดระดับวิตามินในร่างกาย นอกจากจะทำให้ทราบว่าควรได้รับวิตามินชนิดใดเพิ่มเติมแล้ว ยังเป็นการป้องกันการเลือกรับประทานวิตามินบางชนิดมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดผลเสียด้วย
ประเภทของวิตามิน
วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 7 บี 9 บี 12 และวิตามินซี กลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายประมาณ 2-4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อย ไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียง
- วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค วิตามินชนิดนี้จะละลายในไขมัน หรือน้ำมันเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไปจะถูกสะสมไว้ในร่างกาย ซึ่งหากมีการสะสมมากเกินไปอาจมีผลเสียกับร่างกายได้
หมายเหตุ
- หากมียา วิตามิน หรือสมุนไพร ที่รับประทานเป็นประจำ อาจนำไปด้วยในวันตรวจ เพื่อปรึกษาแพทย์
รายละเอียดราคา ตรวจวิตามินและแร่ธาตุ
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ 19 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจระดับวิตามินเอ (Retinol)
- ตรวจระดับวิตามินอี (gamma-Tocopherol)
- ตรวจระดับวิตามินอี (alpha-Tocopherol)
- ตรวจระดับวิตามินซี (Ascorbic acid)
- ตรวจระดับโคเอนไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10)
- ตรวจระดับสารลูทีนแล ซีแซนทีน (Lutein + Zeaxanthin)
- ตรวจระดับเบต้า คริปโตแซนทีน (beta-Cryptoxanthin)
- ตรวจระดับไลโคปีน (Lycopene)
- ตรวจระดับอัลฟา แคโรทีน (alpha-Carotene)
- ตรวจระดับเบต้า แคโรทีน (beta-Carotene)
- ตรวจระดับโครเมียม (Chromium: Cr)
- ตรวจระดับทองแดง (Copper: Cu)
- ตรวจระดับซีลีเนียม (Selenium: Se)
- ตรวจระดับสังกะสี (Zinc: Zn)
- ตรวจระดับแมกนีเซียม (Magnesium: Mg)
- ตรวจระดับวิตามินบี 12 (Vitamin B12)
- ตรวจระดับโฟเลต (Folate)
- ตรวจระดับเฟอร์ริติน (Ferritin)
- ตรวจระดับวิตามินดี (25-OH Vitamin D2/D3)
- ค่าตรวจร่างกายโดยแพทย์
- ค่าตรวจวัดสัญญาณชีพ
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจวิตามินและแร่ธาตุ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที
- ควรนัดหมายล่วงหน้า
- เป็นการตรวจจากปัสสาวะ
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 3-5 วัน แพทย์จะนัดมาฟังผลอีกครั้ง
- เมื่อร่างกายได้รับ Micronutrients ที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยป้องกันโรค แและลดความเสื่อมของร่างกาย
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ในราคาเดียวกัน โดยใช้พาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- การตรวจวิตามินไม่ใช่การวินิจฉัยโรค เป็นเพียงทางเลือกเสริมเพื่อให้ดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมเป็นประจำ
- ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยา (Pharmacological) เช่น การได้รับเคมีบำบัด การได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ผ่านการผ่าตัด
- ผู้ที่มีความเครียดสูง อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ระบบดูดซึมไม่ดี มีปัญหาลำไส้
- ผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ (Oxidative stress-related disease) เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมองตีบ